• 662 2301221
  • info@vwcaddyforum.com
  • 333 Silom Road, Bangkok, 10500
Lifestyle
ทำความรู้จักอาชีพซอล์ฟแวร์ เอนจิเนียร์

ทำความรู้จักอาชีพซอล์ฟแวร์ เอนจิเนียร์

เคยสงสัยกันบ้างมั้ยครับว่า “Application หรือ Program” ต่างๆ ที่เข้าได้ถูกนำมาช่วยให้ชีวิตการทำงานและการทำกิจกรรมต่างๆ ดีขึ้น สะดวกขึ้นนี้ ใครเป็นคนคิดคนทำขึ้นมากัน แล้วเวลาเจ้าพวกนี้เสียหายใครจะเป็นผู้แก้ไขดูแล วันนี้เราจึงอยากพาทุกๆ ท่านไป “ทำความรู้จักอาชีพซอล์ฟแวร์ เอนจิเนียร์” ผู้ซึ่งเป็นคำทำสิ่งเหล่านี้ให้กับทุกๆ ท่านไปรู้จักกันครับ

วิศวกรซอลฟ์แวร์ เป็นอย่างไร?

วิศวกร ซอลฟ์แวร์ หรือ Software Engineer คือการออกแบบ พัฒนา และดูแลรักษาระบบซอฟต์แวร์ ซึ่งจะเริ่มต้นตั้งแต่การให้คำแนะนำ ข้อเสนอแนะ ตลอดไปจนถึงการสร้างความชัดเจนเกี่ยวกับความต้องการของผู้ใช้ จากนั้นจึงลงมือทำการออกแบบ พัฒนา และทดสอบระบบ ก่อนจะดำเนินการส่งถึงมือผู้ใช้งาน เมื่อขั้นตอนทุกอย่างเสร็จสิ้น ก็ยังต้องคอยมีการปรับปรุงและแก้ไขระบบ เพื่อสนับสนุนการบริการให้ดียิ่งขึ้น

ทักษะที่ Software Engineer ต้องมี

●Coding คือ การเขียนชุดคำสั่งหรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในรูปโค้ด (Code) เพื่อให้คอมพิวเตอร์เข้าใจและทำในสิ่งที่ผู้เขียนโค้ดต้องการ หรือกล่าวง่าย ๆ คือ “โค้ดดิ้ง” เป็นการเขียนคำสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานด้วยภาษาหรือรหัส (Code) ที่คอมพิวเตอร์เข้าใจ เช่น ภาษา Python, JavaScript และ C เป็นต้น

●Programming Paradigms คือการแก้ปัญหาโดยใช้ภาษาคอมพิวเตอร์ตามลักษณะการทำงาน/ฟีเจอร์ของแต่ละภาษา

●Software Architecture Styles คือรูปแบบโครงสร้างของซอฟต์แวร์ที่เราสามารถนำมาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อให้ง่ายต่อการดูแลรักษา (Maintainable) การทดสอบ (Testable) รวมไปถึงการทำงานร่วมกันกับผู้อื่น

●Data Patterns คือ แนวคิด ในการแก้ปัญหาของการออกแบบซอฟต์แวร์ ที่เรามักจะเจอบ่อยๆ

●Data Structures และ Algorithms คือ การเก็บรวบรวมข้อมูลต่างๆ ส่วนโดย Algorithms คือ ขั้นตอนหรือกระบวนการที่เราใช้ในการจัดการกับข้อมูลที่เก็บเอาไว้ใน Data Structures นั้น ๆ

●Database กลุ่มของข้อมูลที่ถูกเก็บรวบรวมไว้ โดยมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน โดยไม่ได้บังคับว่าข้อมูลทั้งหมดนี้จะต้องเก็บไว้ในแฟ้มข้อมูลเดียวกันหรือแยกเก็บ

●Testing คือการทดสอบระบบว่าทำงานได้ถูกต้องได้ผลตามวัตถุประสงค์หรือไม่ ซึ่งเป็นการทดสอบกระบวนการทางพื้นฐานทางคอมพิวเตอร์

●Version Control Systems ระบบที่จัดเก็บการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับไฟล์หนึ่งหรือหลายไฟล์เพื่อที่คุณสามารถเรียกเวอร์ชั่นใดเวอร์ชั่นหนึ่งกลับมาดูเมื่อไรก็ได้

●Build Tools คือ เครื่องมือที่ช่วยให้การทำงานเกี่ยวกับ Data Transformation หรือเปลี่ยนแปลงรูปแบบของข้อมูลใน Data Warehouse ดีขึ้น

●Web Security คือ การรักษาความปลอดภัยบนอินเทอร์เน็ต จะช่วยสร้างความมั่นใจในการใช้งานได้ ทั้งในการป้องกันข้อมูลที่มีการรับส่งบนเบราว์เซอร์ต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งบนเว็บแอปพลิเคชัน

●Caching คือการนำข้อมูลที่จำเป็นและถูกเรียกใช้งานบ่อย ๆ ในขณะที่คอมพิวเตอร์กำลังทำงาน มาเก็บไว้ในหน่วยความจำความเร็วสูงที่เรียกว่า cache ซึ่งจะทำให้ CPU สามารถเรียกใช้ข้อมูลนั้นได้อย่างรวดเร็ว

●Cloud computing คือบริการที่ครอบคลุมถึงการให้ใช้กำลังประมวลผล หน่วยจัดเก็บข้อมูล และระบบออนไลน์ต่างๆจากผู้ให้บริการ เพื่อลดความยุ่งยากในการติดตั้ง ดูแลระบบ ช่วยประหยัดเวลา และลดต้นทุนในการสร้างระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่ายเอง ซึ่งก็มีทั้งแบบบริการฟรีและแบบเก็บเงิน

ความจำเป็นของอาชีพ Software Engineer ต่อองค์กรต่างๆ

เนื่องจากโลกกำลังเปลี่ยนเป็นยุคดิจิทัล ส่งผลให้เกือบทุกหน่วยงานพยายามที่จะมีเว็บไซต์ของตนเองเพื่อการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ทำธุรกิจ กิจกรรมหรือสินค้าของตนเองสามารถเข้าถึงง่ายมากยิ่งขึ้น รวมทั้งการสร้างเว็บไซต์ของบุคคลธรรมดาหรือกลุ่มบุคคลก็มีเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน ทำให้การจ้างงานตำแหน่งนักพัฒนาซอฟต์แวร์เป็นที่ต้องการในตลาดเป็นอย่างมา ตำแหน่งนี้จึงจำเป็นทั้งองค์กรขนาดเล็กไปถึงขนาดใหญ่เลยก็ว่าได้ เพื่อที่จะสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้เป็นอย่างดีนั้นเองครับ

และนี้ก็คือความรู้เกี่ยวกับ “อาชีพซอล์ฟแวร์ เอนจิเนียร์ (Software Engineer) ” ทีเราได้รวบรวมมาฝากท่านผู้อ่านกันเพียงเบื้องต้น เพื่อความเข้าใจง่ายและแสดงให้เห็นถึงความน่าสนใจของอาชีพนี้นั้นเองครับ หวังว่าจะชอบกันนะครับ